วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การแต่งกาพย์





การแต่งกาพย์

กาพย์ยานี ๑๑

แผนผัง


ตัวอย่าง

          ยานีมีลำนำ สัมผัสคำสัมผัสใจ
     วรรคหน้าห้าคำใช้ วรรคหลังนี้มีหกคำฯ


ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค

     วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
     วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง


แบ่งเป็นวรรคแรก ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ รวม ๑๑ คำ จึงเรียก ยานี ๑๑
๒. สัมผัส
     ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
     คำสุดท้ายของวรรคแรกวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ)   สัมผัสกับคำที่สามของวรรคหลัง วรรคที่สอง (วรรครับ)
     คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
(ดูแผนผังและยกตัวอย่าง)
     ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องมีสัมผัสระหว่างบท
     สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ยานี คือ
     คำสุดท้ายของวรรคสี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ) ดังตัวอย่าง  

          ยานีมีลำนำ สัมผัสคำสัมผัสใจ
     วรรคหน้าห้าคำใช้วรรคหลังนี้มีหกคำ
     หนึ่งบทมีสี่วรรค พึงประจักษ์เป็นหลักจำ
     จังหวะและลำนำ กาพย์ยานีดังนี้เทอญฯ


       คำสุดท้ายของบทต้น คือคำว่า “คำ” ส่งสัมผัสไปยังบทถัดไป บังคับให้รับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคสองหรือวรรครับ ในที่นี้คือคำว่า “จำ
     ข.   สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์ยานีจะแบ่งช่วงจังหวะเป็นดังนี้
          วรรคแรก เป็น สองคำกับสามคำ คือ หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
          วรรคหลัง เป็น สามคำกับสามคำ คือ หนึ่งสองสาม – หนึ่งสองสาม
     ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
     ยานี มีลำนำ           สัมผัส คำ สัมผัสใจ

*ข้อสังเกต*
     กาพย์ยานีไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สาม (วรรคสอง) กับวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน

กาพย์ฉบัง ๑๖
แผนผัง
ตัวอย่าง

          กาพย์นี้มีนามฉบัง สามวรรคระวัง
     จังหวะจะโคนโยนคำฯ


ลักษณะคำประพันธ์
     ๑.   บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค อาจเรียกว่าวรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง ก็ได้ แบ่งเป็น
               วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ       วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ
               วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ
          รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖
     ๒. สัมผัส
          ก.   สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
               คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
               (วรรครับ)
               สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ฉบัง คือ
               คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทต่อไปต้องรับ สัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ดังตัวอย่าง

          กาพย์นี้มีนามฉบัง   สามวรรคระวัง
     จังหวะจะโคนโยนคำ
          สัมผัสจัดบทลำนำกำหนดจดจำ
     หกคำสี่คำดังนี้ฯ


     คำสุดท้ายของบทต้น คือคำว่า “คำ” ส่งสัมผัสไปยังบทถัดไป บังคับให้รีบสัมผัสที่คำ
สุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) ในที่นี้คือคำว่า “นำ
     ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์ฉบัง แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
               หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
               หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
               ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
               กาพย์นี้ มีนาม – ฉบัง                 สามวรรค – ระวัง
               จังหวะจะ โคนโยนคำ
*ข้อสังเกต*
     กาพย์ฉบังไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
     ส่วนสัมผัสนอก ระหว่างวรรคที่สอง (วรรครับ) กับวรรคที่สาม (วรรคส่ง) นั้น จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน


กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
แผนผัง


ตัวอย่าง

สุรางคนางค
          เจ็ดวรรคจัดวางวรรคหนึ่งสี่คำ
          สัมผัสชัดเจนเป็นบทลำนำ
          กำหนดจดจำรู้ร่ำรู้เรียนฯ


ลักษณะคำประพันธ์
     ๑. บท บทหนึ่งมี ๗ วรรคขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง – ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท
     แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า  กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
     ๒. สัมผัส
          ก.   สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
               คำสุดท้ายของวรรคต้น (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง
               คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า
               (วรรครับ)
               คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า
               (วรรครับ)
               และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก
               (วรรครอง)
               สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ
               คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ (วรรคส่ง)

ดังตัวอย่าง

สุรางคนางค
     เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ
     สัมผัสชัดเจน เป็นบทลำนำ
     กำหนดจดจำรู้ร่ำรู้เรียน
รู้คิดรู้อ่าน
     รู้ประสบการณ์ รู้งานอ่านเขียน
     รู้ทุกข์รู้ยาก รู้พากรู้เพียร
     ประดุจดวงเทียน ประดับปัญญาฯ


     คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า “เรียน” เป็นคำสัมผัสบังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่วรรคสามด้วยคำว่า “เขียน” ตามตัวอย่าง
          ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์สุรางคนางค์ แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
                                           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
             หนึ่งสอง – หนึ่งสอง           หนึ่งสอง – หนึ่งสอง ฯลฯ
     ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง

สุรางคนางค์
          เจ็ดวรรคจัดวาง วรรคหนึ่งสี่คำ
          สัมผัส - ชัดเจน เป็นบท - ลำนำ
          กำหนด - จดจำ รู้ร่ำ - รู้เรียนฯ


*ข้อสังเกต*
     กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น
ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
     ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ด จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน

...........

การเขียนเรียงความ



การเขียนเรียงความ

  เรียงความ คือการใช้ศิลปะทางการเขียนร้อยแก้วแสดงความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ

และความเข้าใจของผู้เขียนอย่างสละสลวย       เรียงความจะต้องประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำนำ 

 เนื้อเรื่อง  และสรุป 

เรียงความที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

               มีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง

               มีสัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้า

จะต้องมีสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

               มีสารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด

โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด



ขอเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวค่ะ

                ก่อนเขียนเรียงความนั้นจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า ชื่อเรื่องที่เขาให้มานั้น หมายถึงอะไร

เกี่ยวโยงกับอะไร ข้อมูลที่จะเขียนลงไปนั้นต้องถูกต้องชัดเจน ดังนั้นผู้เขียนจะต้องรู้ชัดรู้จริง


การเขียนคำนำ

         เป็นการเกริ่นเรื่อง ขอย้ำว่าแค่เกริ่นนะคะอย่าลึก ใช้คำโอบความหมายกว้างๆ เช่น

เรียงความเรื่องแม่ของฉัน      ควรกล่าวถึงแม่โดยทั่วไปก่อน เขียนให้กินใจ น่าอ่าน น่าติดตาม

แต่ยังไม่ควรเล่าว่า " แม่ของฉัน "เป็นอย่างไร



เนื้อเรื่อง


         เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่มีใจความสำคัญ ประเด็นสำคัญตามห้วข้อ ดังนั้นจะต้องเขียนให้ละเอียด

ครอบคลุม ชัดเจน   เช่น เรื่องแม่ของฉัน ในย่อหน้าเนื้อเรื่องให้พรรณนาถึงพระคุณแม่

( เขียนในด้านบวก )



สรุป


         กลับไปอ่านคำนำและเนื้อเรื่องและสรุปจบให้ไปในทิศทางเดียวกัน ขอแนะนำว่า ควรให้

ข้อแนะนำ หรือแนวคิดดีๆ แล้วลงท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจ


          การเขียนเรียงความนั้นอาจจะขึ้นต้นย่อหน้าคำนำ หรือปิดท้ายในหัวข้อสรุป ด้วย กลอน

คติพจน์ วาทะ หรือคำขวัญ     เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้น่าติดตาม ( ถ้ายืมคำใครเขามาอย่าลืมอ้างอิง

นะคะ )     ภายในเรียงความควรประกอบด้วยโวหารหลายๆชนิด เพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่าน  ขั้นตอน

ในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้

เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๕ คือ

๑) บรรยายโวหาร

๒) พรรณนาโวหาร

๓) เทศนาโวหาร

๔) สาธกโวหาร

๕) อุปมาโวหาร   

              ๑. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์

การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญ

ไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะ

เหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจน


             ๒. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง

 ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึง

ยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ

และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มไป

สำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ


                ๓. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม

หรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่านคิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร

จึงยากกว่าโวหารที่กล่าว



               ๔.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้ง

หรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

 พรรณนาโวหาร

              ๕.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบ

เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า

อุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือ

เปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด

               การเขียนเรียงความที่ดีนั้นควรตีกรอบความคิดของผู้เขียนเอาไว้อย่างชัดเจน  เพราะจะทำให้

งานเขียนไม่วกวน จนผู้อ่านเกิดความสับสนทางความคิด   และที่สำคัญเรียงความจะต้องใช้ภาษา

อย่างเป็นทางการ  อย่าใช้ภาษาพูดเป็นอันขาดเพราะจะทำให้งานเขียนขาดความน่าเชื่อถือ





:)

นางในวรรณคดี :)

นางในวรรณคดีของไทย ;

บุษบา
จากเรื่อง อิเหนา


        นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิร ิยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น 
นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิด า พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตา ม
นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย



สุวรรณมาลี
จากเรื่อง พระอภัยมณี


      นางสุวรรณมาลี เป็นธิดาของท้าวสิลราช กษัตริย์เมืองผลึก กับนางมณฑา นางมีรูปโฉมงดงามมาก แต่มีนิสัยขี้หึง ได้หมั้นหมายไว้กับอุ ศเรนโอรสกษัตริย์เมืองลังกา นางลงเรือไปเที่ยวทะเลกับท้าวสิลราชแล้วได้ไปพบกับพร ะอภัยมณีที่เกาะแก้ว พิสดาร สินสมุทรบุตรของพระอภัยมณีพยายามเป็นสื่อให้นางรักใค ร่กับพระอภัยมณี ครั้นได้กลับไปถึงเมืองผลึกนางก็ได้เข้าพิธีแต่งงานก ับพระอภัยมณี ทั้งสองมีธิดาฝาแฝดชื่อสร้อยสุวรรณและจันทร์สุดา ต่อมาพระอภัยมณีตัดสินใจบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญศีลอยู่ที่ เขาสิงคุตร์ นางสุวรรณมาลีก็บวชตามไปปรนนิบัติด้วยความจงรักภักดี นางสุวรรณมาลีนั้นกล่าวได้ว่านางเป็นผู้หญิงที่มีรูป โฉมงดงาม
     นอกจากนางจะเป็นหญิงที่มีความงามแล้ว นางยังมีความสามารถมีสติปัญญาเทียบเท่าผู้ชาย มีความรู้ในการรบ รู้ตำราพิชัยสงคราม และยังมีความเฉลียวฉลาดสามารถเอาตัวรอดได้ ส่วนด้านความรู้ด้านการรบนางก็มีตามวิสัยลูกกษัตริย์ ตามที่จะเห็นได้จากตอนที่นางช่วยสินสมุทรบกับอุศเรน


นางละเวงวัณฬา
จากเรื่อง พระอภัยมณี


     นางละเวงวัณฬาเป็นหญิงฝรั่ง ธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณ มาลี เมื่อนางอายุได้ ๑๖ ปีนางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายไปในสงครามสู้รบระหว่า งเมืองลังกาและเมือง ผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้ 


พระเพื่อนพระแพง
จากเรื่อง ตำนานรักพระลอ


      ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระ แพงเกิดความรักและ ปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระล อฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหล งไหลคิดเสด็จไปหานาง 
ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อ พระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครส วามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์ 
ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสี ย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา



นางมโนราห์
จากเรื่อง มโนราห์



        นางมโนราห์เป็น ธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ กัน งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที ่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโน ดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางง ดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมือง ปัญจาลนคร พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับ นางมโนราห์เป็นเนื้อคู่ กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธนเพ ราะว่าพระสุธนไม่ให้ ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภับพิบัติครั้งใหญ่ ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล ้างกลิ่นอายมนุษย์ ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์ เมื่อเจอพระฤาษี พระสุธนจะติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ เปนเพราะเวรกรรมแต่ชาติที่แล้วนั่นคือ นางมโนราห์คือ พระนางเมรี และพระสุธนคือ พระรถเสน ทำให้พระสุธนได้รับความลำบากมาก เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนางกินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงให้นางมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมาหานาง นางจึงได้แจ้งแก่พระมารดา ซึ่งพระบิดาต้องการทราบว่าพระสุธนมีความรักจิงต่อนาง มโนราห์หรือไม่ ได้รับพระสุธนมาที่เมืองและให้พระสุธนบอกว่านางไหนคื อนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ๆๆมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน ร้อนถึงองค์อินทร์ ต้องแปลงกายมาเป็นแมลงวันทอง จับที่ผมของนางมโนราห์ ทำให้นางมโนราห์และพระสุธนได้เคียงคู่อย่างมีความสุข


นางจินตะหราวาตี



    จินตะหราเป็นพระธิดาท้าวหมันหยากับนางจินดาส่าหรีประไห มสุหรี เกิดในปีเดียวกับอิเหนาแต่อ่อนเดือนกว่า จึงมีฐานะเป็นน้อง และด้วยความงามของนางที่ถูกบรรยายไว้ว่า 
"งามงอนอ่อนระทวยนวยแน่ง ดำแดงนวลเนื้อสองสี 

ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี นางในธานีไม่เทียมทัน"

ทำ ให้อิเหนาหลงใหลจนไม่อยากกลับบ้าน เพียรพยายามใกล้ชิดกับจินตะหรา อิเหนามีคู่หมั้นชื่อนางบุษบา ขณะที่จะอภิเษกสมรส อิเหนาได้หนีออกไปประพาสป่า และได้ปลอมตัวเป็นโจรชื่อ ปันหยี เดินทางไหเมืองหมันหยา ระหว่างทางได้พบเจ้าเมืองรายทางได้ถวายพระธิดา คือ นางสการะวาตี กับนางมาหยารัศมีให้เป็นข้ารับใช้ อิเหนาได้สู่ขอนางจินตะหรา แต่ท้าวหมันหยาไม่กล้ายกให้ บอกให้อิเหนาไปคุยกับนางจินตะหราเอง อิเหนาไม่ยอมอถิเษกกับบุษบา ท้าวดาหาโกรธจึงรับสั่งว่าใครมาสู่ขอจะยกให้ จรกาได้มาสู่ขอ และได้เกิดศึกชิงนางบุษบา อิเหนาจำใจยกทัพไปช่วย เมื่อพบนางบุษบาก็หลงรัก และไม่กลับไปที่เมืองหมันหยา นางจินตะหรนาน้อยใจมากที่อิเหนาลืมนาง นางได้พบอิเหนาเมื่อท้าวกุเรปันส่งสารมาให้นางไปเข้า พิธีอภิเษกพร้อมบุษบา จินตะหราไม่อยากไปร่วมพิธี แต่ขัดไม่ได้ จึงพานางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีไปด้วย ในพิธีอภิเษก นางบุษบาได้อยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย ในขณะที่จินตะหราวาตีอยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายขว า ด้วยความเห็นชอบของท้าวดาหา (อาจจะเป็นเพราะว่าท้าวดาหาต้องการแสดงว่ามีพระทัยกว ้าง จึงให้พระธิดาของตนอยู่ในตำแหน่งรอง) แต่จินตะหราไม่มีความสุขกับตำแหน่งนั้นเพราะอิเหนาไม ่ได้รักนางเหมือนเมื่อ ก่อน ประกอบกับนางเป็นคนถือทิฏฐิไม่ยอมคืนดีด้วย เมื่ออิเหนามาหาทั้งยังทวงสัญญาทำให้อิเหนาเสื่อมรัก นางมากแล้วยิ่งเบื่อจิ นตะหรามากขึ้น ไม่คิดสนใจ แต่ขัดคำสั่งของประไหมสุหรีท้าวดาหาไม่ได้ จึงจำใจไปง้อนาง รักอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งจีรังยั่งยืน โดยเฉพาะความรักที่ถือเอาความงามเป็นแบบบรรทัดฐานอย่ างอิเหนา เมื่อเรื่องรู้ถึงท้าวหมันหยากับประไหมสุหรีท้าวหมัน หยา ได้เรียกนางจินตะหราไปตักเตือน ทำให้จินตะหรารับสภาพว่านางเสียเปรียบบุษบามาก แล้วขืนยังทำตัวยืนกรานแบบเก่าจะมีสภาพที่ย่ำแย่ จึงยอมคืนดีกับอิเหนา และอ่อนเข้าหาบุษบา



นางสีดา



นาง สีดา เป็นนางในวรรณคดีจากเรื่อง " รามเกียรติ์ " ในเรื่องรามเกียรติ์นั้นนางสีดานับว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มของเหตุการณ์ที่โยงไปสู่การรบกันระหว ่างพระรามกับทศกัณฑ์ ประวัติ ลักษณะนิสัยนางสีดาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสาม ีอย่างเป็น เลิศ เช่น ในตอนที่พระรามต้องออกดินป่า นางก็ขอตามเสด็จไปด้วยโดยไปเกรงกลัวต่อความยากลำบากท ี่จะต้องพบ นางสีดานั้นรักนวลสงวนตัว รักในเกียรติของตนเอง เช่น ในตอนที่หนุมานอาสาจะพานางกลับไปหาพระรามโดยให้นั่งบ นมือของหนุมาน นางก็ปฏิเสธทั้งที่มีโอกาสหนี แต่ด้วยเหตุที่ไม่อยากให้ใครมาถูกเนื้อต้องตัวจึงยอม ทนทุกข์อยู่เมืองลงกา ต่อ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เช่น ตอนที่นางสีดายอมลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตน นางสีดามีความรู้คุณ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ในตอนที่นางสีดากล่าวขอบคุณพระลักษมณ์ที่ช่วยเหลือนา งมาตลอด เมื่อรู้ว่าตนทำผิดก็รู้จักขอโทษ เช่น ในตอนที่รู้ว่าตนทำผิดที่ไม่เชื่อคำของพระรามว่าเป็น กลลวงของยักษาที่แปลง กายเป็นกวางเพื่อหลอกล่อนาง แต่นางก็ไม่ฟัง จึงได้กล่าวขอพระราชทานอภัยโทษจากพระรามที่ได้กระทำผ ิดไป นางเป็นคนใจแข็ง ไม่ยอมเชื่อใครโดยง่าย ทั้งยังรักศักดิ์ศรีของตน เช่น ในตอนที่พระรามตามง้อขอคืนดี นางก็ปฏิเสธไปเพราะยังมีทิฐิ 
นาง สีดาเป็นสตรีที่มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าในสวรรค์ ผู้ใดพบเห็นก็ต่างพากันตะลึงในความงดงามของนาง เช่น เมื่อพระรามเดินทางมาเมืองมิถิลาเพื่อร่วมพิธียกศร ซึ่งท้าวชนกโปรดให้จัดขึ้นเพื่อหาคู่ให้นางสีดา ครั้นพระรามให้เห็นนางสีดาก็เกิดความรักขึ้นทันที จนลืมองค์ชั่วขณะหรือแม้แต้ท้าวมาลีวราช เมื่อได้เห็นนางสีดาก็ยังชื่นชมในความงามของนาง นาง สีดาคือพระลักษมีจุติลงมาตามบัญชาของพระอิศวรเพื่ออั ญเชิญพระนารายณ์อวตาร นางสีดาเกิดจากนางมณโฑและทศกัณฐ์ พิเภกได้ทำนายดวงชะตานางสีดาว่าจะเกิดมาทำลายเผ่ายัก ษ์ นางจึงถูกทิ้งให้ลอยน้ำมาในผอบทอง ต่อมาพระฤาษีชนกก็รับเลี้ยงนางสีดาเป็นธิดา และตั้งชื่อนางว่าสีดา ต่อมานางก็ได้อภิเษกกับพระราม และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเมื่อนางถูกทศกัณฐ์จับตั วไปเพื่อให้เป็นมเหสี เนื่องจากความงามเป็นเลิศของนาง จึงเกิดการรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น 




ลำหับ


    ลำหับเป็นเงาะป่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ลำหับเป็นพี่สาวของไม้ไผ่ ลำหับต้องแต่งงานกับฮเนาทั้งๆๆที่ลำหับรักใคร่ชอบพอก ับซมพลา ซึ่งไม้ไผ่ต้องการให้ลำหับแต่งงามกับซมพลามากกว่าฮเน า วันหนึ่งไม้ไผ่ชอนลำหับไปเก็บดอกไม้ ได้มีงูตัวหนึ่งมารัดแขน ลำหับตกใจจนสลบ เมื่อลำหับฟื้นพบว่าซมพลากอดนางอยู่และได้ไถ่ถามด้วย ความห่วงใย และได้พูดออกมาว่า"หากเจ้าตายไป พี่นี้จักตายตาม" ลำหับได้ขอบคุณ

การ แต่งงานของฮเนากับลำหับที่ฝ่ายผู้ใหญ่ของฮเนาได้เตรี ยมงานไว้ งานแต่งมีขึ้นที่ต้นตะเคียน ขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวเคลื่อนที่สู่ที่จะทำงานวิวาห ์ นางลำหับได้ร้อนรนใจ ไม้ไผ่เห็นคนที่บ้านวุ่นวายก็ไปบอกซมพลา ซมพลาฝากไม้ไผ่ไปบอกลำหับว่าจะพาลำหับหนี เมื่อได้ยินดังนั้น ลำหับก็ก็เตรียมตัวเข้างานวิวาห์ การแต่งงานที่สมบูรณ์นั้นต้องเข้าป่า 7 วัน 7 คืน ฮเนาและลำหับเข้าป่า ฮเนาเข้าใกล้ลำหับ ลำหับตกใจร้องกรี๊ด อ้ายแคก็ซุ่มอยู่ก็เอาหินขว้างฮเนา ฮเนาโกรธจึงให้ลำหับรออยู่ แล้วฮเนาก็เดินออกไป ซมพลาได้เข้ามาบอกลำหับว่าจะพาหนี แล้วอุ้มนางไป เมื่อฮเนากลับมาหาไม่เจอ จึงตามหาทั่วทั้งป่า ซมพลาได้พาลำหับมาอยู่ที่ถ้ำลึกกลางป่า มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ซมพลาออกมาหาอาหารแต่ลำหับห้ามไว้เพราะกลัวจะมีอันตร าย แต่ซมพลาก็ไม่ฟัง ฮเนากลับไปที่หมู่บ้าน ทุกคนลงความเห็นว่าซมพลาลักพาตัวลำหับไป ฮเนาพร้อมรำแก้ว ปองสองและปองสุดจึงออกตามหา พบซมพลาระหว่างกลับถ้ำ จึงต่อสู้กันเพราะคิดว่าซมพลาลักพาตัวลำหับ รำแก้วเห็นฮเนาออกห่างซมพลาก็เป่าลูกดอกอาบยาพิษไปโด นหน้าผากซมพลา ซมพลาเดินโซซัดโซเซไปหาลำหับและได้สั่งลา ลำหับเสียใจมากคว้ามีดแทงซอกคอตาย ฮเนาเห็นเหตุการณ์ ก็ตัดสินใจตายตามลำหับไป ฝ่ายรำแก้ว ปอสอง ปอสุดได้ทำการขุดหลุมฝังศพให้เป็นอย่างดี



นางมณีรัตนา(แก้วหน้าม้า)



นางแก้วหน้าม้าเป็นธิดาสามัญชนชาวเมืองมิถิลา เหตุที่นางมีชื่อเช่นนี้เพราะก่อนตั้งครรภ์ผู้เป็นมา รดาได้ฝันว่าเทวดานำ แก้วมาให้ พอให้กำเนิดบุตรสาวเลยตั้งชื่อว่า "แก้ว" แต่เนื่องจากใบหน้าเหมือนม้า ชาวบ้านเรียกว่า นางแก้วหน้าม้า นางแก้วนั้นวัยไล่เลี่ยกับพระปิ่นทอง พระโอรสเมืองมิถิลา และมีญาณวิเศษสามารถล่วงรู้ลมฝน จึงเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้าน เมื่อเก็บว่าวจุฬาได้ นางแก้วดีใจจะเก็บไว้เล่นเอง เมื่อพระปิ่นตามมาขอว่าวคืน นางแก้วขอสัญญากับพระโอรสว่าต้องมารับนางเข้าวังไปเป ็นมเหสี พระปิ่นรับปากเพียงเพราะหวังอยากได้ว่าวคืน รออยู่หลายวันไม่เห็นพระปิ่นทองมารับ นางแก้วจึงเล่าเรื่องให้พ่อกับแม่ฟัง และขอให้ไปทวงสัญญา เมื่อพ่อแม่ไปทวงสัญญากับพระปิ่น ท้าวภูวดลกริ้วตรัสให้นำตัวไปประหาร แต่พระนางนันทาได้ทัดทานพร้อมเรียกพระโอรสมาสอบถาม พระปิ่นทองยอมรับว่าสัญญาจะให้มาอยู่กับสุนัข เ มื่อพระปิ่นทองสัญญาแล้ว พระนางนันทาสั่งให้ไปรับตัวนางแก้วมาอยู่ในวัง ครั้งไม่มีวอทองมารับสมกับตำแหน่งมเหสี นางแก้วก็ไม่ยอมไป จนในที่สุดนางแก้วได้นั่งในวอทอง พร้อมกับแต่งตัวสวยพริ้ง พอมาถึงวังหลวง ท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองเห็นนางแก้วรูปร่างหน้าตาน่าเ กลียด กริยามารยาทกระโดกกระเดกก็ทนไม่ได้ คิดหาทางกำจัดนางแก้ว แต่พระนางนันทานึกเอ็นดู 
นางแก้วเข้าวังมาไม่นาน ท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองหาทางกำจัดนางแก้ว โดยให้นางแก้วไปยกเขาพระสุเมรุมาไว้ในเมืองภายใน 7 วัน หากทำไม่สำเร็จจะต้องได้รับโทษประหาร แต่ถ้าทำได้จะจัดพิธีอภิเษกสมรสกับพระปิ่นทอง นางแก้วออกไปตามป่า เสี่ยงสัตย์อธิษฐานกับเหล่าทวยเทพว่าหากตนเป็นเนื้อค ู่ของพระปิ่นทอง ขอให้พบเขาพระสุเมรุ เดินทางต่อไปอีกสามวัน พบพระฤาษีรีบเข้าไปกราบและเล่าเรื่องราวทั้งหมด พระฤาษีมีใจเมตตาจึงช่วยถอดหน้าม้าออกให้ นางแก้วกลายเป็นหญิงที่งดงามโสภา แล้วเสกหนังสือเป็นเรือเหาะให้ลำหนึ่งพร้อมมอบอีโต้ไ ว้เป็นอาวุธ นางแก้วจึงสามารถไปยกเขาพระสุเมรุมาถวายท้าวภูวดลได้ สำเร็จ 
ท้าวภูวดลพยายามหาหนทางที่จะเลี่ยงคำสัญญาเลยมอบให้พ ระปิ่นทองเดินทางไป อภิเษกกับเจ้าหญิงทัศมาลี ราชธิดาของท้าวพรหมทัต ก่อนเดินทางไป พระปิ่นทองกล่าวว่า ถ้ากลับมานางยังไม่มีลูกจะถูกประหาร นางแก้วนั่งเรือเหาะตามพระปิ่นทองไปแล้วถอดหน้าม้าออ ก ไปขออาศัยอยู่กับสองตายายในป่า เมื่อพระปิ่นทองผ่านมา นางแก้วก็ไปอาบน้ำที่ท่า พระปิ่นทองเห็นเข้าเกิดหลงรัก และไปเกี้ยวพาราณสี จนได้นางแก้วเป็นเมีย ต่อมานางแก้วตั้งครรภ์ พระปิ่นทองต้องการกลับกรุงมิถิลาและได้มอบแหวนให้นาง แก้วเพื่อยืนยันว่าเด็ก ในท้องนางแก้วเป็นลูกของพระปิ่นทองจริง 
ขณะเดินทางกลับกรุงมิถิลา ระหว่างอยู่ในทะเลย เรือสำเภาของพระปิ่นทองถูกมรสุมพัดเข้าไปในถิ่นยักษ์ เมื่อนางแก้วคลอดบุตรชายชื่อว่า "ปิ่นแก้ว" ก็คิดจะพาลูกกลับไปหาพระปิ่นทอง โดยได้แวะไปลาพระฤาษี พระฤาษีบอกนางแก้วว่า พระปิ่นทองอยู่ในอันตราย นางแก้วฝากลูกไว้กับพระฤาษีแล้วแปลงร่างเป็นผู้ชายขึ ้นเรือเหาะไปรบกับท้าว พาลราช เจ้าเมืองยักษ์ จนได้รับชัยชนะ นางแก้วในร่างชายหนุ่ม จึงเชิญพระปิ่นทองให้ครองเมืองยักษ์ และตนขอเพียงนางสร้อยสุวรรณ ธิดายักษ์ที่อายุเพียง 15 พรรษา และนางจันทรา ธิดายักษ์องค์เล็กวัย 14 พรรษาไปเป็นชายา นางแก้วพาสองธิดายักษ์ไปหาพระฤาษีแล้วเล่าเรื่องราวใ ห้ฟังพร้อมถอดรูปให้ดู สองธิดายักษ์รับปากว่าจะเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ นางแก้วจึงพาสองธิดายักษ์มามอบให้พระปิ่นทอง ต่อมาพระปิ่นทองเดินทางกลับเมืองมิถิลาพร้อมกับสองธิ ดายักษ์ 

นางแก้วได้พาลูกกลับมาเฝ้า พระปิ่นทอง ท้าวภูวดล พระนางนันทา นางสร้อยสุวรรณ และนางจันทร พร้อมกับกราบทูลว่าพระปิ่นแก้วเป็นพระโอรสของพระปิ่น ทองกับนางแก้ว พระปิ่นทงกับท้าวภูวดลไม่เชื่อ นางแก้วเลยมอบแหวนที่พระปิ่นทองเคยมอบให้ในร่างนางมณ ีรัตนา นางสร้อยสุวรรณและนางจันทรช่วยกันเลี้ยงดูพระปิ่นแก้ ว แถมยกมือไหว้นางแก้ว พระปิ่นทองสงสัยว่าไปมีลูกกับนางแก้วได้ตั้งแต่เมื่อ ไร่ 
เจ้าหญิงทัศนมาลีคิดถึงพระปิ่นทองก็เดินทางมาหาพระปิ ่นทอง เมื่อเดินทางมาพบพระปิ่นทองแล้วเกิดการหึงหวงกับนางส ร้อยสุวรรณและนาง จันทรสองธิดายักษ์ จนมีเรื่องทะเลาะวิวาท โดยนางแก้วเข้าช่วยเหลือ นางทัศนมาลีเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงหนีกลับเมือง ต่อมาเจ้าหญิงทัศนมาลีได้ให้กำเนิดพระโอรส ตั้งชื่อว่า "เจ้าชายปิ่นศิลปไชย" ท้าวกายมาต ผู้ครองนครไกรจักร เป็นญาติของท้าวพาลราชซึ่งถูกแก้วสังหาร และนางสร้อยสุวรรณ กับ นางจันทร กลายเป็นชายาของพระปิ่นทอง ก็เกิดแค้นใจ ยกทัพมาที่เมืองมิถิลา พระปิ่นทองไม่ชำนาญการรบ นางสร้อยสุวรรณและนางจันทรแนะว่าให้ไปขอความช่วยเหลื อจากนางแก้วหน้าม้า พร้อมบอกใบ้ให้รู้ความจริง พระปิ่นทองรีบไปง้อขอคืนดีกับนางแก้ว นางแก้วยอมช่วยเพราะเห็นแก่พระนางนันทา โดยแปลงร่างเป็นชายหนุ่มถืออีโต้ไปเฝ้าพระปิ่นทองโดย บอกว่าพี่แก้วให้มาช่วย นางแก้วไม่สามารถทำอะไรท้าวประกายมาตได้ เพราะท้าวประกายมาตมีฤทธิ์รักษาแผลได้ นางแก้วจึงขี่เรือเหาะข้ามศีรษะท้าวประกายมาต ทำให้มนต์เสื่อม จึงสามารถจัดการได้ พอชนะศึกแก้วในร่างของชายหนุ่มขอลากลับทันที พระปิ่นทองจึงมั่นใจว่าต้องเป็นนางแก้วแน่นอน จึงตามไปหาที่ห้องกล่าวง้องอน นางแก้วหน้าม้าก็ทำเป็นเล่นตัว พระปิ่นทองแกล้งทำทีเชือดคอตาย นางแก้วจึงยอมใจอ่อนถอดหน้าม้าออก เมื่อความทราบถึงท้าวภูวดลและนางนันทา ก็ดีพระทัย จึงจัดพิธีอภิเษกสมรสให้นางแก้วเป็นมเหสีของปิ่นทองอ ย่างเอิกเกริก พร้อมทั้งกับนางแก้วได้ชื่อใหม่ว่า "นางมณีรัตนา" นางแก้วจึงให้คนไปรับพ่อกับแม่มาลี้ยงดูอย่างมีความส ุขในวัง ต่อมาไม่นานนางแก้วก็ตั้งครรภ์อีกครั้ง แล้วได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข




:-)